ปวงข้าพระพุทธเจ้า
ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และข้าราชการตำรวจ
กองกำกับการ ๔ กองบังคับการฝึกพิเศษ
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน



คำกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

คํากล่าวน้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


ในวันนี้ข้าพระพุทธเจ้า
พ.ต.อ.ดร.ทศพร ปทุมยา ผู้กำกับการ ๔ กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พร้อมด้วยคณะข้าราชการตำรวจ กองกำกับการ ๔ กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และบุคลากร ล้วนมีจิตใจตั้งมั่นเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี แห่งการครองราชย์ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๙ ตราบจนกระทั่ง เสด็จสวรรคตเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงดํารงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมและทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน ชาวสยาม”
อีกทั้งทรงพระวิริยอุตสาหะปฏิบัติบําเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ หยาดพระเสโทอันเกิดจากการที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อประชาชน
เปรียบเสมือนหยาดน้ําทิพย์ที่ชโลมผืนแผ่นดิน และจิตใจของพสกนิกรให้ได้รับความร่มเย็น ตลอดจนทุกคราที่ชาติบ้านเมืองประสบความทุกข์ยาก จากวิกฤตภัยต่าง ๆ พระองค์ได้ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ และพระราชทานแนวทางเพื่อ คลี่คลายขจัดปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี นําความผาสุกมาสู่ประเทศและอาณาประชาราษฎร์โดยถ้วนหน้า

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ กว่า ๔,๐๐๐ โครงการ ล้วนเป็นการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทําให้พสกนิกรชาวไทยสามารถดําเนินชีวิตด้วยความผาสุกมั่นคงในทุกสถานการณ์ของบ้านเมือง

เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงการทําหน้าที่บนหลักของการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการนับเป็นแนวทางสําคัญที่ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติหน้าที่เสมอมา แม้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว แต่โครงการตามพระราชดําริน้อยใหญ่ยังคงผลิดอกออกผล และให้ความร่มเย็น พระบรมราโชวาท และพระราชดํารัสในโอกาสต่าง ๆ ยังคงเปรียบดุจดังแสงสว่างที่คอยชี้นําแนวทางในการดํารงชีวิตแก่ปวงพสกนิกร และจะยังคงสถิตในดวงใจของเหล่าปวงชนชาวไทยสืบไปด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี จะยึดมั่นในการปฏิบัติดี รักษาชาติบ้านเมือง และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและ ประชาชน สนองพระมหากรุณาธิคุณ


บทนำ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพและความสามารถ พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายในการประกอบพระราชกรณียกิจ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ ซึ่งพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นของพระองค์ มีดังต่อไปนี้



โครงการแกล้งดิน

แกล้งดิน

แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด
เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้

อ่านเพิ่มเติม



โครงการปลูกหญ้าแฝก

หญ้าแฝก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก
ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก
โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก
ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ

อ่านเพิ่มเติม



โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

หน่วยแพทย์พระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510
โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า
และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน

อ่านเพิ่มเติม



โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา
โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม

อ่านเพิ่มเติม



ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล
ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น
ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป

อ่านเพิ่มเติม



แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10
เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30%
ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%
จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์
เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา
จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน
เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

อ่านเพิ่มเติม



โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ
อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม



โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง
เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น
ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน

อ่านเพิ่มเติม



กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น
เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี
และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

อ่านเพิ่มเติม